โดเมน .in.th

ที่มา https://zixzax.net/ เข้าถึงวันที่ 19/3/66

มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย
(THAI NETWORK INFORMATION CENTER FOUNDATION

เป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรที่มุ่งเน้นด้านการส่งเสริมและพัฒนาการใช้งานอินเทอร์เน็ตและโครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย มูลนิธิฯ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2541 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมและพัฒนาการใช้งานชื่อโดเมน “.th” และ “.ไทย” ทั้งในรูปแบบสนับสนุนการศึกษา การวิจัยและพัฒนาเพื่อส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เป้าหมายสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือการผลักดันการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ตไทย ในด้านเทคโนโลยี ความรู้ ความเร็วอินเทอร์เน็ต และการลดต้นทุน ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมของมูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย ได้ที่เว็บไซต์ https://www.thnic.or.th

ประวัติอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย และการบริหารโดเมน .TH และ .ไทย

ที่มา https://hilight.kapook.com/ เข้าถึงวันที่ 19/3/66

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เริ่มต้นจากความต้องการติดต่อสื่อสารผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์(e-mail) กับอาจารย์ที่ปรึกษาในมหาลัยวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ของ ศ. ดร.กาญจนา กาญจนสุต จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ด้วยความพยายามติดตั้งเครื่องแม่ข่ายและอุปกรณ์เชื่อมต่อผ่านสายโทรศัพท์ทางไกลต่างประเทศ ทำให้ในปี พ.ศ. 2529 ประเทศไทยสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เป็นครั้งแรก ด้วยความเร็วเพียง 2400 bps (bits per second)จากนั้นในปีพ.ศ. 2531 สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ได้รับหน้าที่เป็นศูนย์กลางของประเทศไทยในการเชื่อมโยงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ภายใต้โครงการ TCSNet หรือ Thai Computer Science Network เพื่อรับ-ส่งอีเมลเป็นรายครั้งผ่านการหมุนโทรศัพท์ไปยังเครื่องแม่ข่ายที่ประเทศออสเตรเลียในปีเดียวกันนี้ ศ. ดร.กาญจนา กาญจนสุต มีแนวความคิดให้นักวิจัยไทยได้มีอีเมลที่ลงท้ายด้วย .th เป็นของตนเองแทนที่การใช้ .au จึงติดต่อไปยังคุณโจนาธาน บรูซ โพสเทล (Jonathan Bruce Postel หรือ Jon Postel) ผู้ให้กำเนิดมาตรฐานการสื่อสารคอมพิวเตอร์ผ่านอินเทอร์เน็ต รับผิดชอบการดูแลทรัพยากรอินเทอร์เน็ตโลก รวมไปถึงชื่อโดเมน คุณโจนาธานจึงได้มอบชื่อโดเมนแทนประเทศไทย .th ให้ศ. ดร.กาญจนา กาญจนสุต ได้เป็นผู้ดูแลนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาหลังจากได้รับชื่อโดเมนแทนประเทศไทย .th มาดูแลเป็นที่เรียบร้อย ช่วงเวลานั้นการใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มเป็นที่แพร่หลายมากยิ่งขึ้น อัตราการเติบโตของผู้ใช้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์เป็นตัวเลือกกับผู้ใช้เพิ่มขึ้น จึงได้เกิดการประชุมร่วมกันระหว่างนักวิจัยและผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เพื่อวางแนวทางในการบริหารจัดการชื่อโดเมน .th ซึ่งเป็นผลให้เกิดโครงสร้างชื่อโดเมนระดับที่สอง ขึ้น เช่น .co.th .ac.th .or.th .go.th และกลุ่มผู้ดูแลชื่อโดเมน .th ได้รับการจัดตั้งเป็นศูนย์สารสนเทศเครือข่ายประเทศไทย หรือ THNIC มีหน้าที่รับจดทะเบียนชื่อโดเมนต่าง ๆ ที่ลงท้ายด้วย .th โดยในปัจจุบันคือ มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย รับบทบาทเป็นผู้บริหารจัดการนโยบายการใช้งาน .th และ .ไทย มีบริษัท ที.เอช.นิค จำกัด เป็นผู้ให้บริการรับจดทะเบียนชื่อโดเมน (Registrar) .th ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2542 และ .ไทย ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2554 มีบริษัท ไทย เนม เซิฟเวอร์ จำกัด เป็นผู้ดูแลฐานข้อมูลและระบบโดเมนเนมเซิฟเวอร์ (Registry) ภายใต้ความมุ่งหวังให้ชื่อโดเมน .th และ .ไทย มีความน่าเชื่อถือ สามารถสร้างความมั่นใจให้ผู้ถือครองชื่อโดเมนและผู้ใช้บริการได้

ที่มาhttps://www.thnic.or.th/ เข้าถึงวันที่ 19/3/66

ความสำคัญของการมีชื่อโดเมน และข้อดีของการใช้โดเมน .TH

ชื่อโดเมน .th และ .ไทย มีความแตกต่างจากชื่อโดเมนอื่น ๆ ที่ใช้กันทั่วไป เนื่องจากเป็นชื่อโดเมนระดับบนสุด แบบรหัสประเทศ หรือ Country Code Top-Level Domain Name (ccTLD) ซึ่ง th เป็นตัวย่อของประเทศไทย ดังนั้นการใช้ชื่อโดเมน .th จะแสดงถึง
- ความชัดเจนของแบรนด์ และสามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ทั่วโลกถึงการมีตัวตนอยู่ในประเทศไทย
- ปัจจุบัน .th และ .ไทย เป็นชื่อโดเมนระดับบนสุดที่มีความเข้มงวดด้านนโยบายการจดทะเบียนมากที่สุดประเทศหนึ่ง ซึ่งช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับชื่อโดเมน และผู้ใช้งานเมื่อต้องติดต่อกับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก
- นโยบายการยืนยันตัวตนในการจดชื่อโดเมน ทำให้สามารถระบุตัวตนและติดต่อผู้ถือครองชื่อโดเมนได้เป็นผลต่อเนื่องให้การหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ตจากการใช้ชื่อโดเมน .th มีน้อย
- นโยบายไม่สนับสนุนการเกร็งกำไรชื่อโดเมน หรือ Cyber-Squatting ทำให้ชื่อโดเมน .th ของไทยมีผู้ถือครองที่มีตัวตนอยู่จริง ช่วยยกระดับความน่าเชื่อถือของชื่อโดเมนและเว็บไซต์ได้
- ผลสืบเนื่องจากความน่าเชื่อถือทำให้การทำธุรกรรมต่าง ๆ เช่น ซื้อ-ขายสินค้า หรือการให้ข้อมูลบนเว็บไซต์ที่มีชื่อโดเมน .th และ .ไทย ได้รับการยอมรับและมีความปลอดภัยมากกว่าชื่อโดเมนทั่วไป (gTLD)
- การใช้ชื่อโดเมน .th และ .ไทย รวมถึงนโยบายการตั้งชื่อโดเมนให้ตรงกับชื่อองค์กร ชื่อย่อองค์กร หรือเครื่องหมายทางการค้า ช่วยสนับสนุนการทำการตลาดด้วย SEO หรือ Search Engine Optimization เนื่องจากเครื่องมือค้นหาต่าง ๆ เหล่านี้ มักให้ค่าคะแนนการค้นหาเพิ่มยิ่งขึ้น เป็นผลให้เว็บไซต์อยู่ในระดับสูงขึ้นเมื่อค้นหาในประเทศไทย

โดเมนภาษาท้องถิ่น .ไทย อีเมลภาษาไทย และการรองรับ

.ไทย ถือเป็นชื่อโดเมนระดับบนสุดแบบรหัสประเทศ (Country Code Top-Level Domain) ที่เป็นภาษา ท้องถิ่น (Internationalized Domain Name: IDN) ในปัจจุบันทั่วโลกกำลังรณรงค์ให้มีการใช้ชื่อโดเมนและอีเมล ที่เป็นภาษาท้องถิ่น (ภาษาต่าง ๆ ทั่วโลก) เพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับการใช้งานของประชากรโลกส่วนใหญ่ที่ไม่ได้ใช้ ปรับปรุงล่าสุด 04 มี.ค. 66 www.webkru.in.th 10 ภาษาอังกฤษเป็นภาษาประจำชาติอย่างเช่น ภาษาไทย ภาษามลายู ภาษาเวียดนาม ภาษาจีนกลาง ภาษาฮินดี ฯลฯ ตัวอย่างของโดเมนภาษาท้องถิ่นสำหรับภาษาไทย เช่น รู้จัก.ไทย เว็บครู.ไทย คน.ไทย พระลาน.ไทย เป็นต้น ชื่อโดเมนภาษาท้องถิ่น ช่วยให้เจ้าของเว็บไซต์เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้งานที่ใช้ภาษาท้องถิ่น ลดความ เหลื่อมล้ำทางด้านดิจิทัลอันเกิดจากภาษา ทำให้คนที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษ สามารถเข้าถึงข้อมูลในอินเทอร์เน็ตได้ กว้างขวางขึ้น ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการไม่สามารถจดจำชื่อเว็บไซต์ที่เป็นภาษาอังกฤษได้ และเจ้าของเว็บไซต์ก็ไม่ จำเป็นต้องพยายามสะกดชื่อเว็บไซต์ทับศัพท์เป็นภาษาอังกฤษ หากชื่อของแบรนด์เป็นภาษาไทยอยู่แล้วและเน้น กลุ่มเป้าหมายเป็นคนไทย การมีชื่อโดเมนภาษาท้องถิ่น ทำให้เกิดอีเมลภาษาท้องถิ่น (Email Address Internationalization) ตามมา เช่น ติดต่อ@คน.ไทย เป็นต้น ด้วยวัตถุประสงค์เดียวกันคือ ทำให้คนที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษสามารถจดจำชื่ออีเมลและสื่อสารผ่าน อีเมลถึงกันได้เนื่องจากชื่อโดเมนและอีเมล มักถูกใช้เป็นสิ่งระบุ ตัวตนบนโลกอินเทอร์เน็ต เช่น การสมัครขอใช้บริการต่าง ๆ จะขอ อีเมลเพื่อใช้เป็นรหัสผู้ใช้ รวมถึงใช้ในการส่งข้อความยืนยันตัวตน ทางองค์กรอินเทอร์เน็ตสากล (ICANN) จึงได้เร่งผลักดันให้ผู้ให้บริการ เว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มต่าง ๆ อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถกรอกชื่อ โดเมนและอีเมลภาษาท้องถิ่นในแบบฟอร์ม ซึ่งปัจจุบันหลาย ๆ เว็บไซต์ได้เริ่มเปิดให้กรอกภาษาท้องถิ่นลงในแบบฟอร์ม หรืออนุญาตให้ใช้อีเมลภาษาท้องถิ่นเป็นรหัสผู้ใช้ได้แล้ว เงื่อนไขการจดทะเบียนชื่อโดเมนภาษาท้องถิ่น .ไทย คือ ชื่อนั้นจะต้องแปล (ความหมายเดียวกัน) หรือ ออกเสียงได้เหมือนกันทั้ง 2 ภาษา (ภาษาอังกฤษและภาษาไทย) 

ที่มา https://www.websitegang.com/ เข้าถึงวันที่ 19/3/66

ที่มา https://blog.cloudflare.com/ เข้าถึงวันที่ 19/3/66

การจดทะเบียนชื่อโดเมน

การจดทะเบียนชื่อโดเมนรหัสประเทศไทยทุกชื่อต้องดำเนินการผ่าน “นายทะเบียน (Registrar)” ได้แก่ บริษัท ที.เอช.นิค จำกัด ซึ่งเป็นนายทะเบียนผู้ให้บริการรับจดทะเบียนชื่อโดเมน .th และ .ไทย ที่ได้รับแต่งตั้งอย่างเป็นทางการเพียงรายเดียวจากมูลนิธิฯ (ดูเพิ่มเติมที่ thnic.co.th) ในการนี้ นายทะเบียนได้มีระบบให้บริการผ่านทางตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับอนุญาต (Authorized Reseller) สำหรับการอบรมภายใต้โครงการนี้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถจดทะเบียนชื่อโดเมนได้ผ่านตัวแทนจำหน่ายฯ DotArai ที่เว็บไซต์https://register.dotarai.com ด้วยขั้นตอนที่ง่ายตามคำแนะนำบนหน้าเว็บ https://register.dotarai.com/HomeFaq

หลักเกณฑ์การตั้งชื่อโดเมน .in.th และ .ไทย
(สำหรับการอบรมหลักสูตรนี้)

3. ชื่อโดเมนจะต้องไม่เป็นชื่อสงวน คำหรือชื่อเฉพาะที่สงวนไว้ในประเภทดังต่อไปนี้
3.1 ชื่อที่ใช้คำที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ พระบรมวงศานุวงศ์และสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์พระราชวงศ์และพระบรมวงศานุวงศ์
3.2 ชื่อที่ใช้คำที่กระทบต่อความละเอียดอ่อนทางด้านศาสนาและความเชื่อ
3.3 ชื่อที่ใช้คำที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียชื่อเสียงแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือองค์กรหนึ่งองค์กรใด รวมไปถึงการใช้คำล้อเลียน เสียดสีประชดประชัน หรือก่อให้เกิดความขัดแย้ง เกลียดชัง
3.4 ชื่อที่เป็นชื่อประเทศ จังหวัด รัฐ เมือง รวมถึงสถานที่อันเป็นสาธารณะต่าง ๆ หรือสื่อถึงชื่อเหล่านั้น
3.5 ชื่อที่ใช้คำหยาบหรือคำที่ผิดต่อหลักศีลธรรมอันดีงามของไทย รวมถึงคำที่มิได้เป็นคำหยาบโดยตัวเองแต่เกิดจากกระบวนการบางอย่าง เช่น การผวนคำ เป็นต้น
3.6 ชื่อที่สื่อความหมายถึงอินเทอร์เน็ต โปรโตคอลในระบบอินเทอร์เน็ต และชื่อที่เกี่ยวข้องกับระบบชื่อโดเมน
3.7 ชื่อที่มูลนิธิฯ กำหนดไว้ในรายการชื่อสงวน ตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์ https://www.thnic.co.th
4. ชื่อโดเมน .ไทย แต่ละชื่อจะต้องประกอบด้วยตัวอักษรภาษาไทย พยัญชนะ(ก-ฮ ฤ ฤ ฦ ฦ) สระ วรรณยุกต์ ยมก (ๆ) พินทุ (อฺ) นฤคหิต (อํ) ไปยาลน้อย (ฯ) การันต์(_์) และ/หรือเลขไทย (๐-๙) โดยชื่อโดเมนจะต้องมีความยาวหลังจากแปลงเป็นพิวนีโค้ด (Punycode) ไม่เกิน 63 ตัว
5. ชื่อโดเมน .ไทย ประกอบด้วยตัวเลขอารบิก (0-9) ได้ แต่จะต้องประกอบกับตัวอักษรภาษาไทยที่กล่าวไว้ข้างต้นอย่างน้อย 1 ตัว
6. ชื่อโดเมน .ไทย จะต้องไม่เป็นชื่อสงวน ที่ระบุในข้อ 3
7. ผู้ถือครองชื่อโดเมน .th ทุกหมวดหมู่จะได้รับสิทธิจดทะเบียนชื่อโดเมน .ไทย ในหมวดหมู่ที่คู่กัน โดยชื่อโดเมน .ไทย และ .th ดังกล่าวจะต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกัน ทั้งนี้ ให้อ้างอิงคำพ้องเสียงหรือคำแปลตามหลักเกณฑ์ของสำนักงาน ราชบัณฑิตยสภา หรือ เทียบเท่า

ที่มาhttps://www.bloggang.com/ เข้าถึงวันที่ 19/3/66

ที่มา https://sites.google.com/site/electronics32042109/lesson เข้าถึงวันที่ 19/3/66

การขอจดทะเบียนชื่อโดเมน 

1. ผู้ใช้งานต้องสมัครบัญชีสมาชิกที่เว็บไซต์ของนายทะเบียน thnic.co.th เพื่อเข้าใช้บริการในระบบจัดการทะเบียนชื่อโดเมน สมาชิกสามารถส่งคำขอจดทะเบียนชื่อโดเมนผ่านทางระบบนี้ หรือสามารถจดทะเบียนผ่านทางตัวแทนจำหน่ายฯ ได้
2. คำขอจดทะเบียนชื่อโดเมนจะมีอายุ 30 วัน โดยในช่วงอายุของคำขอ ผู้อื่นจะไม่สามารถส่งคำขอจดทะเบียนชื่อโดเมนเดียวกันได้
3. นายทะเบียนถือหลักปฏิบัติผู้ที่ส่งคำขอมาก่อนจะได้รับบริการก่อน (First come, first serve basis)
4. นายทะเบียนยึดแนวทางให้ผู้ขอรับบริการก่อนได้สิทธิในชื่อโดเมนก่อนเป็นหลัก (ยกเว้นได้ระบุเงื่อนไขเฉพาะไว้ในแนวปฏิบัติอื่น ๆ) ดังนั้น ชื่อโดเมนที่ได้รับการจดทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ผู้อื่นจะไม่สามารถส่งคำขอจดทะเบียนชื่อโดเมนเดียวกันได้ ถึงแม้ผู้ร้องขอจะแสดงเอกสารประกอบที่สอดคล้องกับเงื่อนไขในการจดทะเบียนชื่อโดเมนนั้น ๆ เว้นแต่เกิดข้อพิพาท
5. เอกสารประกอบการยืนยันตัวตนสำหรับบุคคลธรรมดา ได้แก่ บัตรประชาชน หรือ บัตรประจำตัวข้าราชการ หรือใบอนุญาตขับขี่ หรือ หนังสือเดินทาง ออกโดยกระทรวงต่างประเทศ ราชอาณาจักรไทยสำหรับผู้เยาว์ให้ใช้เอกสาร 2 ฉบับ ดังนี้เอกสารแสดงตนหรือบัตรประชาชนของผู้เยาว์บัตรประชาชนของผู้แทนที่มีอำนาจตามกฎหมาย รับรองการขอจดทะเบียนชื่อโดเมน หรือเลือกใช้การยืนยันตัวตนรูปแบบ National Digital ID (NDID) ตัวตนของผู้ใช้บริการบนโลกดิจิทัล ที่สามารถทำธุรกรรมออนไลน์ต่าง ๆ

การต่ออายุชื่อโดเมน 

การต่ออายุชื่อโดเมนต้องต่อขั้นต่ำครั้งละ 1 ปีและสูงสุดไม่เกิน 10 ปีโดยผู้ถือครองชื่อโดเมนจะต้องเป็น ผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบวันหมดอายุของชื่อโดเมนที่ถือครองและดำเนินการส่งคำขอต่ออายุและชำระ ค่าธรรมเนียมให้เรียบร้อยก่อนวันหมดอายุ 

อ้างอิงข้อมูล

คู่มือการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการทำเว็บไซต์ด้วยชื่อโดเมน .TH  นำเข้าข้อมูลวันที่ 19//66